1. พริก
พริก เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญและมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพร
1.1 ลักษณะทั่วไป
เมล็ดพริกมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศแต่มีรูปร่างคล้ายๆ กันคือ มีรูปร่างกลมแบน มีสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ และระยะเวลา ผิวเรียบ เมล็ดจะติดอยู่กับรก โดยเฉพาะทางด้านฐานของผลพริกเมล็ดจะติดอยู่มากกว่าปลายผล ส่วนมากที่เปลือกของผลและเปลือกของเมล็ดมักมีเชื้อโรค พวกโรคใบจุด และโรคใบเหี่ยวติดมา สำหรับจำนวนเมล็ดต่อผลพริกหนึ่งผลจะไม่แน่นอน
1.2 สรรพคุณ
พริกมีวิตามินซีสูง เป็นแหล่งของกรด Ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่ายของเสีย และนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า – แคโรทีนหรือวิตามินเอสูง
พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิดได้แก่ Capsaicin และ Oleoresin โดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค เช่น ผลิตภัณฑ์ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สารนี้ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และลดความเจ็บปวดส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
2. เเคปไซซิน
แคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารประกอบฟีนอลิก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายในน้ำได้เล็กน้อย และละลายได้ในไขมันได้ดี มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ทนความร้อนและความเย็นได้ดี พบตามธรรมชาติในพริก ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่า “รก” ส่วนของเนื้อผลพริก เปลือกผล และเมล็ดจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้พริกมีรสเผ็ด
แคปไซซินเป็นสารหลักของสารในกลุ่มแคปไซซินอยด์ (Capsicinoids) โดยทั่วไป แคปไซซินอยด์จะประกอบด้วยแคปไซซิน 70% และไฮโดรแคปไซซิน 22% และสารอื่นๆ อีก 8% แคปไซซินมีสูตรโมเลกุลคือ C18H23NO3 โครงสร้างเคมีคือ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide น้ำหนักโมเลกุล 305.46 และปริมาณของสารแคปไซซินจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดและสายพันธุ์
3. วิธีการสกัดสารแคปไซซิน
3.1 การสกัดด้วยชุดสกัดน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil Determination Apparatus หรือ Clevenger Apparatus)
ใช้สำหรับสกัดน้ำมันหอมระเหยที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ โดยน้ำและน้ำมัน ที่สกัดได้จะถูกกลั่นและรวมตัวกันอยู่ที่หลอดกักเก็บด้านซ้ายมือ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะลอยตัวอยู่ด้านบนของหลอด ส่วนน้ำจะอยู่ด้านล่างและถูกดันไหลกลับเข้าสู่ขวดก้นกลมผ่านทางท่อเอียงในส่วนของหลอดกักเก็บน้ำมันจะมีสแกลบอกปริมาตร สามารถใช้ในงานทดลองเพื่อหาปริมาตรน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากสารตัวอย่าง
3.2 การสกัดแบบแช่
เป็นการเป็นการสกัดโดยการแช่ตัวอย่างพริกรวมกับตัวทำละลายในภาชนะปิดทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน เพื่อให้เซลล์พืชอ่อนตัวและปลดปล่อยสารประกอบต่างๆ รวมทั้งสารแคปไซซินออกมา ซึ่งระหว่างการสกัดควรมีการเขย่าบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อให้ตัวทำละลายสัมผัสกับอนุภาคตัวอย่างของพริกได้มากขึ้น
3.3 การสกัดแบบกวน
เป็นการเป็นการสกัดโดยนำตัวอย่างพริกใส่รวมกับตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด หลังจากนั้นทำการกวนโดยใช้แมกเนติกบาร์ ในอัตรา 1000 รอบต่อนาที เพื่อให้ตัวทำละลายสัมผัสกับอนุภาคตัวอย่างของพริกได้มากขึ้น
4. หลักการเเละการประยุกต์ใช้สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer)
เทคนิค UV-Vis Spectroscopy เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง Ultraviolet (UV) จนถึงช่วง Visible light โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้คือเครื่อง UV-Vis spectrophotometer ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณของแสงและค่าความเข้มแสง ที่เกิดจากทั้งการทะลุผ่าน การส่องผ่าน และการสะท้อนของวัสดุตัวอย่างที่ถูกวางไว้ในตัวเครื่องมือ โดยที่แต่ละความยาวคลื่นตลอดช่วงการวัดจะมีความสัมพันธ์กับทั้งในเชิงปริมาณ และชนิดของสารที่อยู่ในตัวอย่าง
>สำหรับงบประมาณของโครงงานเราอยู่ที่ประมาณ 1000 บาท<