ที่มาและความสำคัญ

อาหารในปัจจุบันนี้มีความหลากหลายอย่างมาก อาหารแต่ละชนิดอาจมีองค์ประกอบที่ประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสุกๆดิบๆ หากระบุเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นปัญหาอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษและอาจมีอาการตามมาภายหลังคือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย คงต้องพูดถึงแบคทีเรีย Staphylococcus aureus แต่ก็มีสารบางประเภทที่สามารถยับยั้งเชื้อชนิดนี้ได้ดีหากนำมาผ่านกระบวนการและวิธีที่เหมาะสมอย่าง

สารแทนนินเป็นสารสารที่มีโมเลกุลใหญ่ โครงสร้างซับซ้อน มีสมบัติเป็นกรดอ่อนพบมากในพืชที่มีรสฝาดเช่น ในเปลือกกล้วยดิบ ในเปลือกมังคุด ดอกไม้ กาบมะพร้าว ฯลฯ มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการท้องเสีย และ ป้องกันการทำลายของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Staphylococcus aureus ซึ่งสามารถนำสารนี้ออกมาใช้ประโยชน์ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลาย

ผู้จัดทำเห็นถึงปัญหาของเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวและเห็นถึงประโยชน์ของแทนนินซึ่งพบได้ในพืชที่อยู่ชีวิตประจำวันของมนุษย์จึงได้นำส่วนประกอบต่างๆในดอกสุพรรณิการ์ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีได้แก่กลีบดอก เกสร และกลีบเลี้ยงกับฐานรองดอกเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาเลือกส่วนที่มีสารแทนนินมากที่สุดและนำไปสกัดสารแทนนินด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกันโดยใช้น้ำ เอทานอล และอะซิโตนเพื่อที่จะทดสอบว่าสารใดเป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพที่สุดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของสารแทนนินที่ได้และนำสารนั้นไปพัฒนาและต่อยอดต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสารแทนนินในดอกสุพรรณิการ์

2. เพื่อเปรียบเทียบปริมาณของสารแทนนินในส่วนของดอกสุพรรณิการ์ที่โดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน

3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารแทนนินในดอกสุพรรณิการ์โดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน