
กำเนิดระบบสุริยะ ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1 แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ วัสดุชั้นรอบนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่า ยังโคจรไปตามโมเมนตัมที่มีอยู่เดิม รอบดวงอาทิตย์เป็นชั้นๆ มวลสารของแต่ละชั้นพยายามรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นรูปทรงกลม เนื่องจากมวลสารพุ่งใส่กันจากทุกทิศทาง อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงทำให้วัสดุที่อยู่รอบๆ พยายามพุ่งเข้าหาดาวเคราะห์ ถ้าทิศทางของการเคลื่อนที่มีมุมลึกพอ ก็จะพุ่งชนดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมวลรวมกัน แต่ถ้ามุมของการพุ่งชนตื้นเกินไป ก็จะทำให้แฉลบเข้าสู่วงโคจร และเกิดการรวมตัวต่างหากกลายเป็นดวงจันทร์บริวาร ดังเราจะเห็นได้ว่า ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี จะมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงและมีวงโคจรหลายชั้น เนื่องจากมีมวลสารมากและแรงโน้มถ่วงมหาศาล ต่างกับดาวพุธซึ่งมี ขนาดเล็กมีแรงโน้มถ่วงน้อย ไม่มีดวงจันทร์บริวารเลย วัสดุที่อยู่โดยรอบจะพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ เพราะ มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าเยอะ |
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบสุริยะ (Solar System) มีจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ที่มีวงโคจรของดาวเคราะห์ 8 ดวงอยู่เป็นดาวบริวาร ได้แก่
1. ดาวพุธ (Mercury)
ดาวพุธป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
2. ดาวศุกร์ (Venus)
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2
3. โลก (Earth)
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3
4. ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคารดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ของระบบสุริยะ
5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
6. ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีวงแหวนอีกด้วย
7. ดาวยูเรนัส (Uranus)
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 เป็นดาวเคราะห์แก๊ส เต็มไปด้วยแอมโมเนียและมีเทน
8. ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ลักษณะมีผิวสีน้ำเงิน ปัจจุบันถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ